การวางแผนการเงินต้องมี “เป้าหมาย”

ที่จริงแล้วมีบางท่านได้ทำการวางแผนทางการเงินอยู่กลาย ๆ อาจจะทำแล้วโดยที่ท่านไม่รู้ตัว เช่น การฝากเงินในธนาคารทุกเดือน การซื้อที่ดิน หรือการทำประกันไว้บ้าง แต่ถ้าเราให้เวลาและใส่ใจกับสิ่งเหล่านี้เพิ่มขึ้นอีกหน่อย เช่น มีเป้าหมายว่าจะใช้เงินทำอะไร หรือจะหาเงินมาออมเพิ่มได้อย่างไร ก็คงจะช่วยให้ความฝันของเราเป็นจริงเร็วยิ่งขึ้น

ดังนั้น “สิ่งแรก” ที่เราควรทำในการวางแผนทางการเงินก็คือ การกำหนดเป้าหมายหรือกำหนดสิ่งที่เราต้องการก่อน  ซึ่งเป้าหมายนั้นอาจจะแตกต่างกันไปตามความต้องการของแต่ล่ะท่าน ไม่ว่า การซื้อบ้านใหม่ ซื้อรถใหม่ การไปท่องเที่ยวต่างประเทศ หรือการอยากจะเลิกทำงานตั้งแต่อายุยังไม่เยอะ ไม่ว่าจะมีความต้องการแบบใหนก็ตาม ลองเลือกมาสักสองสามข้อแล้ววางแผนที่จะไปถึงมันให้ได้ ก็จะช่วยให้เรามีกำลังใจในการดำเนินการตามแผนการมากขึ้น

เป้าหมายนี้จะทำให้เราเห็นถึงความต้องการของตัวเองอย่างชัดเจนขึ้น จะช่วยให้สามารถคาดคะเนระยะเวลาที่เราจะต้องเก็บออม ลงทุน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และยังเป็นตัวกำหนดให้เรารู้จักคิดคำนวณล่วงหน้าว่า เราจะใช้เงินหรือไม่ ถ้าใช้เงินไปแล้วจะกระทบกับแผนที่เราวางไว้หรือเปล่า

เปรียบเหมือนนักกีฬาที่ต้องมีเส้นชัยเป็นเป้าหมาย เราก็ต้องมีเป้าหมายเช่นกัน ไม่เช่นนั้นเราอาจะหลงทางและทำให้แผนการที่วางไว้พังทลายได้เช่นกัน

การแบ่งเป้าหมาย ควรแบ่งเป็น “เป้าหมายระยะสั้น” และ “เป้าหมายระยะยาว”

เป้าหมายระยะสั้น คือ การวางแผนสั้น ๆ ไม่เกิน 1 ปี เพราะถ้าเราวางแผนเฉพาะระยะยาวเพียงอย่างเดียวแล้ว เราอาจจะเกิดอาการท้อขึ้นมาได้ เนื่องจากว่าระยะเวลาที่นานเกินไป และไม่บรรลุเป้าหมายสักที ดังนั้นการตั้งเป้าหมายระยะสั้น เป็นเหมือนการให้รางวัลชิ้นเล็ก ๆ แก่ตัวเราเพื่อให้เรามีกำลังใจที่จะทำต่อไปตามแผน เป้าหมายระยะสั้นเช่น การไปท่องเที่ยวตามที่ต่าง ๆ  การเปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้า มือถือใหม่ หรือ การเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์เป็นต้น

เป้าหมายระยะยาว คือการวางแผนการเงินสำหรับสิ่งที่เราต้องการในอนาคต อาจจะเป็น 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปีข้างหน้า

เป้าหมายระยะยาวถือเป็นเป้าหมายหลัก ที่ทำให้เราต้องมาลงมือทำเรื่องการวางแผนทางการเงิน เพราะความต้องการเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ต้องใช้เงินเยอะ ยิ่งถ้าเราต้องการความสุขมากเท่าไหร่เราก็ต้องการเงินเยอะเท่านั้น เราจึงต้องมีแผนการออม การลงทุน ที่รัดกุมมากขึ้นนั่นเอง

เป้าหมายระยะยาวก็เช่น การซื้อบ้านใหม่ การซื้อรถใหม่ การเก็บเงินแต่งงาน หรือการส่งลูกไปเรียนต่างประเทศ เป็นต้น

เมื่อเราวางแผนได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาวแล้ว เราจะพบว่ารายการไหนที่เราต้องการทำก่อน รายการไหนที่จำเป็น รายการไหนต้องเตรียมการแต่เนิ่น ๆ แล้วเลือกจัดเรียงแบ่งประเภท แล้วทำการวางแผนทางการเงินได้เลย

p-new-4

ขั้นตอนการวางแผนทางการเงิน การวางแผนที่ดีนั้นจะช่วยให้เราประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น โดยขั้นตอนการวางแผนทางการเงินนั้นพอจะสรุปคร่าว ๆ ได้ดังนี้

1. การเข้าใจและสำรวจความต้องการของตัวเอง สิ่งที่จะต้องทำและต้องยอมรับให้ได้ เป็นอันดับแรกก็คือ การยอมรับตัวเอง การรู้จักนิสัยทางการเงินของตัวเอง เงื่อนไข ข้อจำกัด ความพร้อมที่จะรับความเสี่ยงได้แค่ไหน เมื่อทราบแล้วจะได้ปรับมาใช้ในการวางแผนการเงิน การออม การเลือกการลงทุนที่เหมาะสม เช่น ถ้าคุณเป็นคนที่พื้นฐานการเงินไม่แน่น แต่เลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ต้องใช้ความรู้เยอะ ๆ ก็อาจจะทำให้เรามีโอกาสศูนย์เสียเงินมากกว่าที่จะได้เงินก็ได้

2. กำหนดยระยะเวลาและเป้าหมายที่แน่นอน และเป็นจริงได้ การกำหนดเป้าหมายนั้น ควรกำหนดสิ่งที่เป็นจริงได้ ไม่ใช่ว่ากำหนดในสิ่งที่เพ้อฝันเช่น “ฉันจะเป็นคนรวยที่สุดในประเทศ ภายใน 5 ปี” อะไรอย่างนี้ก็เป็นการกำหนดเป้าหมายที่ไม่สามารถเป็นไปได้ จะทำให้เป้าหมายของเราล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้น การกำหนดเป้าหมายและระยะเวลาที่ดีนั้น ต้องคำนึงถึงว่า เราต้องการอะไร อยากจะเป็นอยู่อย่างไร เราจะต้องใช้เงินเท่าไหร่ และเรามีเวลาในการหาเงินนั้นอีกเท่าไหร่ ลองเขียนรายการเหล่านี้ออกมาดู โดยดูเป้าหมายที่เป็นไปได้ สมเหตุสมผลและปฏิบัติได้

เช่น อยากจะไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นกับแฟน ซึ่งต้องใช้เงินประมาณ 100,000 บาท เราก็อาจจะตั้งเป้าหมายว่า ใน 2 ปีนี้เราจะบริหารเงินให้ได้มากกว่า 100,000 บาท โดยการเก็บเงินเดือนละ 5,000 บาท แต่ถ้าต้องการไปภายใน 1 ปี ก็อาจจะหาวิธีลงทุนที่มีผลตอบแทนมากกว่า เพื่อให้สำเร็จตามที่ต้องการเป็นต้น

3. กำหนดสัดส่วน เพื่อใช้เงินอย่างเหมาะสม เมื่อเรามีเป้าหมายแล้ว เราก็จะมีตัวเลขเงินที่อยู่ในใจ ก็จำเป็นที่ต้องหาวิธีที่หาเงินก้อนนั้นมา โดยพื้นฐานแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือการจัดสัดส่วนรายได้ รายจ่ายให้เหมาะสม

โดยค่าใช้จ่ายอาจจะแบ่งเป็น “ค่าใช้จ่ายประจำ” เช่น อาหาร ที่อยู่ หนี้สิน ค่าเดินทาง เงินประกัน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ส่วนอีกอย่างหนึ่งเราจะเรียกว่า “ค่าใช้จ่ายพิเศษ” เช่น เสื้อผ้า บันเทิง ท่องเที่ยว ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะจำเป็นน้อยกว่าค่าใช้จ่ายส่วนแรก

เมื่อมีรายได้เข้ามาเราควรกันเงินไว้ให้ค่าใช้จ่ายประจำที่จำเป็นก่อน ส่วนรายจ่ายเพื่อความสุขนั้นเอาไว้ทีหลังก็ได้

4. ลงมือและปรับแผนรวมไปถึงการปรับตัวตามแผน คนเราเมื่อมีความคิดดี ๆ ก็ต้องลงมือทำด้วย จึงจะประสบความสำเร็จ ในขั้นตอนนี้ถือว่า “สำคัญที่สุด” เพราะไม่ว่าเราจะวางแผนดีเพียงใด ถ้าหากไม่ลงมือทำแล้ว ก็เหมือนรถที่ไม่ได้วิ่ง จอดให้สนิมกินนั่นเอง

ในช่วงที่มีการดำเนินตามแผนอาจจะต้องมีการ “ปรับแผน” หรือ “ปรับตัวกันบ้าง” เช่น การลดค่าใช้จ่ายในบางรายการ หรือ การลดเพดานเป้าหมายลง ทั้งนี้จะต้องอยู่บนพื้นฐานที่ว่าจะต้องไม่บีบคั้นตัวเองจนเกินไป แต่ควรเป็นสิ่งที่เราทำแล้วมีความสุขทั้งตอนนี้และในอนาคต

p-new-5

ประเด็นที่ต้องคำนึงในการวางแผนการเงิน ประเด็นที่ใช้ในการวางแผนทางการเงินนั้น หลัก ๆ จะประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

การใช้จ่าย เราจะต้องรู้ว่าควรจัดเงินสำหรับการใช้จ่ายอย่างไร

การลงทุน เป็นเครื่องมือที่ทำให้เงินของเรางอกงามยิ่งขึ้น การลงทุนที่ดีนั้น เราสามารถที่จะได้รับผลตอบแทนสูงจนน่าตกใจเลยทีเดียว

การออม เป็นสิ่งพื้นฐานของความร่ำรวย เหมือนคำกล่าวที่ว่า “ออมก่อน รวยกว่า” นั่นเอง

การบริหารหนี้ หากก่อ “หนี้ดี” ก็จะทำให้เราร่ำรวย ดังนั้นสิ่งที่เราต้องรู้ก็คือ อันใหนคือ “หนี้ดี” หรือ “หนี้เลว” กันแน่

บัตรเครดิต เครื่องมือทางการเงินที่สุดแสนอันตราย หลาย ๆ คนตกม้าตายเพราะบัตรเครดิตมาเยอะแล้ว เราจึงควรเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งนี้ให้มากขึ้น

การทำประกัน นอกจากป้องกันความเสี่ยงแล้ว ยังเป็นรูปแบบการลงทุนอีกอย่างที่น่าสนใจ

ภาษี การวางแผนทางภาษีที่ดี จะช่วยให้เราประหยัดเงินค่าภาษีได้เยอะ และไม่ต้องกลัวปัญหาที่จะตามมาจากสรรพากรอีกด้วย

การวางแผนการเงินที่ดีจะช่วยให้เราสามารถที่จะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นการวางแผนการเงิน ก็เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ชีวิต จะต้องถูกกระทบจากปัญหาด้านการเงินนั่นเอง

Related Posts